เทศบาลตำบลดอนหวาย เทศบาลตำบลดอนหวาย







สภาพทั่วไป

 

ข้อมูลทั่วไป
         
ด้านศักยภาพ

ที่ตั้งและอาณาเขต

         เทศบาลตำบลดอนหวาย ตั้งอยู่ที่  เลขที่  ๗๒  ม.๔  ตำบลดอนหวาย  อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา  มีพื้นที่ประมาณ  ๒๐.๔๙  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  ๑๒,๘๗๐  ไร่   มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้


ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลใหม่  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๗ สายมิตรภาพ –โนนสูง บริเวณพิกัด TB ๐๗๒๗๔๘ ไปทางทิศตะวันออกตามกึ่งกลางทางสาธารณะประโยชน์ไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางทางสาธารณะประโยชน์ บ้านจันดุม หมู่ที่ ๖ ตำบลใหม่ บริเวณพิกัด TB ๐๘๙๗๔๔ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลบิง  โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางทางสาธารณะประโยชน์บ้านจันดุม  หมู่ที่ ๖  ตำบลใหม่ บริเวณพิกัด TB ๐๘๙๗๔๔ ไปทางทิศใต้ตามแนวทุ่งนาบ้านดอนขวาง ตำบลบิง จนถึงทางสาธารณะประโยชน์บ้านดอนขวาง-บ้านดอนหวาย บริเวณพิกัด TB ๐๙๑๗๓๗ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวทุ่งนา จนถึงลำเหมืองสาธารณะบริเวณพิกัด TB ๐๙๗๗๓๖ ไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางถนนมิตรภาพนครราชสีมา-ขอนแก่น บริเวณพิกัด TB ๑๐๐๗๒๖ ระยะทางประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลโตนด โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางถนนมิตรภาพนครราชสีมา-ขอนแก่น บริเวณพิกัด TB ๑๐๐๗๒๖ ไปตามกึ่งกลางถนนมิตรภาพนครราชสีมา-ขอนแก่น(ตรงข้ามทางเข้าบ้านด่านทองหลาง)บริเวณพิกัด TB ๐๔๙๗๐๓ ระยะทางประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลใหม่ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางถนนมิตรภาพนครราชสีมา-ขอนแก่น บริเวณพิกัด TB ๐๔๙๗๐๓ ไปทางเกวียนจนถึงโนนเกรา บริเวณพิกัด TB๐๕๖๗๒๓ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวทุ่งนาบ้านใหม่(กลอ)ตำบลใหม่  บ้านดอนตะแบง ตำบลดอนหวาย บริเวณพิกัด TB๐๕๖๗๒๓ ไปตามแนวทุ่งนาจนถึงทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๗ มิตรภาพ-โนนสูง บริเวณพิกัด TB๐๗๒๗๔๘ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
(ข้อมูลจากแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลดอนหวาย)

ลักษณะภูมิประเทศ

        ตำบลดอนหวาย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง พื้นที่สม่ำเสมอ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๐.๔๙ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒๗๘๐ ไร่
        
ลักษณะภูมิอากาศ

        มี ๓ ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
        
ลักษณะของดิน

        ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว

ลักษณะของแหล่งน้ำ
            -มีแหล่งธรรมชาติ (ห้วย/หนอง/คลอง/บึง)    จำนวน ๒ แห่ง
            - แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น (บ่อน้ำตื้น/สระน้ำ) จำนวน ๖ แห่ง

ลักษณะของไม้และป่าไม้
            - พื้นที่ป่าสาธารณะ จำนวน ๑๐ ไร่


ด้านการเมือง/การปกครอง

๑. เขตการปกครอง
         เทศบาลตำบลดอนหวาย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  ๑  ตำบล   ๗  หมู่บ้าน ได้แก่  หมู่ที่ ๑  บ้านดอนหวาย  หมู่ที่ ๒ บ้านดอนหวาย หมู่ที่ 3 บ้านหนองหวาย  หมู่ที่ ๔ บ้านหนองตะครอง  หมู่ที่ ๕ บ้านโนนมะกอก   หมู่ที่ ๖ บ้านหนองบง  หมู่ที่ ๗ บ้านดอนตะแบง

๒. การเลือกตั้ง
    การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕62  กำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ เขต เขตละ ๖ คน ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน ๑๒  คน และเลือกนายกเทศมนตรี จำนวน  ๑  คน

๓. โครงสร้างเทศบาลตำบลดอนหวาย ประกอบด้วย

คณะผู้บริหาร

๑.  นายธวัช ชำนาญกลาง  นายกเทศมนตรีตำบลดอนหวาย
๒.   นายสมปอง         เกตุดอน รองนายกเทศมนตรี
๓. นายประกายกาญจน์        งิมสันเทียะ   รองนายกเทศมนตรี
๔. นายประดิษฐ           ยุงกลาง        ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
๕. นางสาวจินตนา        เผยกลาง    เลขานุการนายกเทศมนตรี
       
สมาชิกสภาเทศบาล ๑๒ ราย
๑. นายปรีชา พยุงกลาง ประธานสภาเทศบาล
๒. นายพร เผยกลาง รองประธานสภาเทศบาล
๓.  นายจิตกร วิไลกลาง สมาชิกสภาเทศบาล
๔. นายอุดมเดช หมายสมกลาง สมาชิกสภาเทศบาล
๕.  นายจำลอง      วนาภรณ์    สมาชิกสภาเทศบาล
๖.   นางเยาวรัตน์  ตันกลาง     สมาชิกสภาเทศบาล
๗.  นายประสงค์          จงพึ่งกลาง    สมาชิกสภาเทศบาล
๘. นายนนท์ธวัจน์       เตชะกิจวรกูล    สมาชิกสภาเทศบาล
๙.   นายบุญสม    แปรงกลาง   สมาชิกสภาเทศบาล
๑๐.   นายยงยุทธ     แปรงกลาง  สมาชิกสภาเทศบาล
๑๑. นายยงยุทธ์  นุชสาย    สมาชิกสภาเทศบาล
๑๒. นายนัด     ถ้ำกลาง       สมาชิกสภาเทศบาล       
       
พนักงานเทศบาล รวม ๒๔ คน
๑. นางจตุพร  ศิริอุดม       ปลัดเทศบาล
๒. นายศุภวิชญ์  ร่มกลาง รองปลัดเทศบาล
๓.  นางสาวณณัฐ ธีระวาส หัวหน้าสำนักปลัด
๔.   นางสาวปฐมกร   พริ้งกลาง   ผู้อำนวยการกองคลัง
๕.    นางเครือวัลย์       วรชมพู   ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
๖.   นายศุภวิชญ์           ร่มกลาง        รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองช่าง
๗.   นายศุภวิชญ์ ร่มกลาง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองการศึกษา
๘.  นางสาวสุกัญญา    พงษ์แผนศรี    หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
๙.  นายชัย            หมายแก้วกลาง   หัวหน้าฝ่ายการโยธา
๑๐.      นายกษิดิศ     เสาทองหลาง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง
๑๑. นางสาววรางค์ศิริ  ศิริรักษ์โภคิณ    นักทรัพยากรบุคคล
๑๒. นายวิจิตร ตอสกุล      นักจัดการงานเทศกิจ
๑๓.  นางปวริศา         เพชรสุข  นักจัดการงานทะเบียนและบัตร
๑๔.  นายนิติพงษ์  ท้องพิมาย    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๕.  นายอานนท์     สารโคกสูง  นักจัดการงานทั่วไป
๑๖.  นางสาวลัดดาวัลย์   ดอกกลาง   นักพัฒนาชุมชน
๑๗.  นายบุญส่ง      กาดกลาง    เจ้าพนักงานป้องกันฯ
๑๘. นางพิมพ์วรัตม์     ป้อมเสมาพิทักษ์ นักวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๙.    น.ส.กมลรส   เงินโพธิ์      นักวิชาการจัดเก็บรายได้
๒๐.  นางสาวพูลทรัพย์  ประจัดกลาง    นักวิชาการเงินและบัญชี
๒๑. นายประวีย์     จันทร์แสง เจ้าพนักงานพัสดุ
๒๒.   นายมนูญ ทิพย์รมณ์ เจ้าพนักงานประปา
๒๓. นางเสาวลักษณ์       แก้วมะดัน   นักจัดการงานทั่วไป
๒๔.  นางศริญภัธค์     พิลาแดง     นักวิชาการศึกษา
       
พนักงานครูเทศบาล รวม ๒ ราย
๑. นางสุพัตรา ชูดี        ครู อันดับ คศ.๑
๒.   นางสาวชุลีพร   คะเชนทร์ชาติ   ผู้ดูแลเด็ก
       
ลูกจ้างประจำ รวม ๑ ราย
๑.   นางวิไลพร   วิไลกลาง    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
       
พนักงานจ้างตามภารกิจ รวม ๖ ราย
๑. น.ส.ภาฝัน          อินขามป้อม    ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
๒. น.ส.อัจฉรานันท์       ภีมมะโยธินกุล    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
๓. นายพงษ์ศักดิ์    กมลกลาง    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันฯ
๔. นายสุวิทย์    จุ่มกลาง   ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันฯ
๕. นายรังสรรค์   แก้วมะดัน    ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา
นายสุรพงษ์  พรมเจียม  ผู้ช่วยวิศวกรโยธา
๗. น.ส.ศรัญญา     มหาวีระ        ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
๘. นายธีรวัฒน์ ชอบทองหลาง    พนักงานขับรถยนต์
๙. นายพิศ เผยกลาง พนักงานขับเครื่องจักรขนาดเบา
       
พนักงานจ้างทั่วไป รวม ๘ ราย
๑. นางสาวรัชฎากร บาดกลาง    คนงาน
๒. นาวสายทอง จูงกลาง       คนงาน
๓. นายไพโรจน์     คมเหล็ก   พนักงานจ้างเหมา
๔. นายชม         ตับกลาง      พนักงานจ้างเหมา
๕. นางสาวนภาภรณ์  บาทกลาง    พนักงานจดมาตรวัดน้ำ
๖. นายพันศักดิ์      นาคมีตระกูล    พนักงานจ้างเหมา
๗. นายธนายุทธ        คบด่านกลาง   พนักงานจ้างเหมา
๘. นายจารุวัฒ          จำปาม่วง    พนักงานจ้างเหมา

 

ประชากร


จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร จากข้อมูลจากสำนักทะเบียนเทศบาลตำบล   ดอนหวาย  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา ข้อมูล ณ เดือน  กันยายน  พ.ศ.๒๕๖๕ พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น  ๓,๖๓๗  คน แยกเป็นชาย  ๑,๗๓๘  คน  เพศหญิง  ๑,๘๙๙  คน

ข้อมูลจากสำนักทะเบียนเทศบาลตำบลดอนหวาย  ของเดือน  กันยายน  ๒๕๖๕

หมู่ที่

ชื่อหมู่่บ้าน ปี 2565 ประชากร ปี 2565 รวม
จำนวนครัวเรือน ชาย (คน) หญิง (คน)
1 บ้านดอนหวาย 389 311 361 672
2 บ้านดอนหวาย 203 300 307 607
3 บ้านหนองหวาย 165 255 258 513
4 บ้านหนองตะครอง 124 176 207 383
5 บ้านโนนมะกอก 175 281 306 587
6 บ้านหนองบง 146 205 237 442
7 บ้านดอนตะแบง 129 204 219 423
รวม 1,333 1,738 1,899 3,637

 

สภาพทางสังคม

1. การศึกษา

- ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา     จำนวน 3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น     จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนสำหรับพระสงฆ์-สามเณร จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง
       
2. การสาธารณสุข      
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง
- อัตราการมีใช้ส้วมราดน้ำ   ร้อยละ  ๑๐๐      


3. ยาเสพติด
    - เทศบาลตำบลดอนหวายได้ดำเนินการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่


4. การสังคมสงเคราะห์
    -  ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนเทศบาลตำบลดอนหวาย

 

ระบบบริหารพื้นฐาน


1. การคมนาคมขนส่ง
    การคมนาคมในเทศบาลตำบลดอนหวายมีเส้นทางหลักดังนี้
    - เส้นทางสายมิตรภาพ (นครราชสีมา – ขอนแก่น) สามารถติดต่อตำบลโตนด  ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
    - เส้นทางสายมิตรภาพ – โนนสูง สามารถติดต่อตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
    - ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนหินคลุก ถนนลูกรัง ถนนดิน


2. การไฟฟ้า
    เทศบาลตำบลดอนหวาย มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน ทั้ง 7 หมู่บ้าน มีไฟฟ้าครบทุกหลังคาเรือน แต่จำเป็นต้องขยายเขตไฟฟ้าให้ครอบคลุมถึงในส่วนของไร่นาของเกษตร


3. การประปา
    - มีจำนวน 2 แห่ง


4. โทรศัพท์
    - ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่


5. ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
    - ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด คือ ที่ทำหารไปรษณีย์โนนสูง ที่อยู่ 144 ถนนสำราญราษฎร์ ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

 

ระบบเศรษฐกิจ


1. การเกษตร

    ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ร้อยละ ๘๕ คือ การปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง


2. การประมง
    -

3. การปศุสัตว์
    ประชากรในเขตพื้นที่ตำบลดอนหวาย ทำการปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค สุกร มีอยู่ทุกหมู่บ้าน


4. การบริการ

    -

5. การท่องเที่ยว
    บึงถนนหัก เป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลดอนหวาย และประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง


6. อุตสาหกรรม
    -


7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
    โรงฆ่าสัตว์ จำนวน  4  แห่ง


8. แรงงาน
    ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ร้อยละ 85 คือ การปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง


เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

1. ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
   

จำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอนหวาย ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้นำ ตำแหน่ง
1 บ้านดอนหวาย นางมาลัย ภูช่างทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  1
2 บ้านดอนหวาย นางวิไลวรรณ  แย้มกสิกร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2
3 บ้านหนองหวาย นายณรงค์  กำบังกาย กำนันตำบลดอนหวาย
4 บ้านหนองตะครอง นายถนอม  สินปรุ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  4
5 บ้านโนนมะกอก นายพนม ถ้ำกลาง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  5
6 บ้านหนองบง นายณรงค์ นิ่มกลาง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  6
7 บ้านดอนตะแบง นายสุรศักดิ์ ฉันทะกลาง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  7
จำนวนชุมชนในเขตเทศบาล ประกอบด้วย ๘ ชุมชน ได้แก่
หมู่ที่ ชื่อชุมชน ชื่อผู้นำ ตำแหน่ง
1 ชุมชนดอนหวายหมู่ ๑ สามัคคี นางเยาวรัตร์  ตันกลาง ประธานชุมชนฯ
2 ชุมชนหนองจะบกพัฒนา นางสมพงษ์ เซิบกลาง ประธานชุมชนฯ
3 ชุมชนบุ่งตะแบงพัฒนา นางประเทืองทิพย์ กมลกลาง ประธานชุมชนฯ
4 ชุมชนหนองหวายสามัคคี นางพิกุล  กำบังกาย ประธานชุมชนฯ
5 ชุมชนหนองตะครองสันติสุข นายมณี ชูดี ประธานชุมชนฯ
6 ชุมชนโนนมะกอกร่วมใจพัฒนา นางชนาภา  น้อมกลาง ประธานชุมชนฯ
7 ชุมชนหนองบงสามัคคี นางบุญเรือง จรจอหอ ประธานชุมชนฯ
8 ชุมชนดอนตะแบงพัฒนา นางวรรณกร  เจกะโพธิ์ ประธานชุมชนฯ

 

ศาสนา  ประเพณี  วัฒรธรรม


1. การนับถือศาสนา
ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอนหวายส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถาบันและองค์กรทางศาสนา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดบ้านดอนหวาย  และวัดบ้านโนนมะกอก


2. ประเพณีและงานประจำปี
    - ประเพณีลอยกระทง
    - ประเพณีสงกรานต์
    - ประเพณีแห่เทียนพรรษา
    - ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ


3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
    - ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพรพื้นบ้าน หมอพื้นบ้าน
    - ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาโคราช


4. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
    - สินค้าประจำตำบลดอนหวาย  ได้แก่ เนื้อสุกร สินค้าแปรรูปจากเนื้อสุกร


ทรัพยากรธรรมชาติ
1.  น้ำ
    - แหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่ ห้วย/หนอง/คลอง/บึง  จำนวน  2  แห่ง


2. ป่าไม้
    - พื้นที่ป่าสาธารณ  จำนวน 10 ไร่


3. ภูเขา
    - พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา


4. คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
    - มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่
1. บึงถนนหัก เนื้อที่ประมาณ  495
2. สระน้ำเทศบาล เนื้อที่ 4 ไร่ 3  งาน 26 ตารางวา
    - มีพื้นที่ ป่าสาธารณะ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง  จำนวน 10  ไร่











 

 
















 








 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เทศบาลตำบลดอนหวาย